พระท่ากระดาน

พระวัดท่ากระดาน

พระที่พบทั้งหมดนี้เรียกว่าพระกรุเก่าศรีสวัสดิ์ และได้มีการขุดค้นกันเรื่อยมา แต่ก็พบพระไม่มากนัก จนถึงปีพ.ศ. 2495-2496

พระท่ากระดาน  เป็นพระชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรี    แต่ก็มีพิมพ์อีกหลายวัดที่ใช้ชื่อวัดท่ากระดานเหมือนกัน

ประวัติ

         สมัยก่อนชาวบ้านมักเรียกกันว่า “พระเกศบิดตาแดง” คงเนื่องด้วยพระท่ากระดานนั้นส่วนมากพระเกศมักจะบิดคดงอไม่ตั้งตรง เนื่องจากเป็นพระเนื้อชินตะกั่วและถูกบรรจุทับถมไว้ในกรุเป็นเวลานาน ส่วนที่เป็นพระเกศจึงคดงอตามที่ถูกกดทับ

ส่วนคำว่า ตาแดงนั้นก็เนื่องจากองค์พระเป็นเนื้อตะกั่วและมีสนิมแดงจัดเกือบทุกองค์ และที่พระเนตรก็เป็นแบบพระ เนตรเนื้อคือ มีดวงพระ เนตรนูนเด่นเห็นได้ชัด

ชาวบ้านในสมัยก่อนจึงตั้งชื่อตามลักษณะเด่นที่เห็น ต่อมาเมื่อคนต่างถิ่นเห็นพระท่ากระดานและรู้ที่มาว่า พบที่ตำบลท่ากระดาน กาญจนบุรี จึงเรียกกันใหม่ว่า “พระท่ากระดาน” ตามชื่อตำบลที่พบพระนั้น

พระท่ากระดานนี้พบกันที่วัดร้างเมืองท่ากระดานเก่ามานานมากแล้ว ประมาณตั้งแต่ปีพ.ศ. 2440 พบที่วัดเหนือ วัดกลาง วัดล่าง และที่บริเวณถ้ำลั่นทม พระที่พบทั้งหมดนี้เรียกว่าพระกรุเก่าศรีสวัสดิ์ และได้มีการขุดค้นกันเรื่อยมา แต่ก็พบพระไม่มากนัก จนถึงปีพ.ศ. 2495-2496 ก็เป็นการค้นหากันอย่างจริงจังและพระก็หมดไปจากตำบลท่ากระดาน ตำแหน่งที่เป็นกรุพระในปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำในเขื่อนศรีนครินทร์

ต่อมาได้มีการพบพระท่ากระดานที่วัดในตัวจังหวัดอีก 3 วัดคือ ที่วัดหนองบัว ในปีพ.ศ. 2497 หลวงปู่เหรียญท่านได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม

ขณะที่ช่างกำลังซ่อมแซมพระอุโบสถหลังเก่าอยู่นั้นก็ได้พบพระท่ากระดาน รวมทั้งสิ้น 93 องค์ และพระสกุลท่ากระดานอีก 21 องค์ รวมทั้งพระปิดตาเนื้อผงที่หลวงปู่ยิ้มสร้างไว้ พระเครื่องทั้งหมดนี้บรรจุอยู่ในโถโบราณ ที่อยู่บนเพดานพระอุโบสถด้านหลังพระประธาน ซึ่งหลวงปู่ยิ้มบรรจุไว้ และพระท่ากระดานทั้งหมดนั้นได้มีผู้นำมาถวายหลวงปู่ยิ้มไว้ เป็นพระท่ากระดานกรุเก่าศรีสวัสดิ์ทั้งหมด

   ในปีพ.ศ. 2506 พบพระท่ากระดานที่วัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) สมัยหลวงพ่อดี เป็นเจ้าอาวาส ทางวัดได้มีการเจาะพระเจดีย์องค์ปราน ซึ่งประ ดิษฐานอยู่หน้าพระวิหารเพื่อบรรจุพระ 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งทางการได้มอบมาให้บรรจุ ขณะที่คนงานกำลังเจาะลึกไปได้ประมาณ 1 เมตร ได้มีทรายที่บรรจุอยู่ทะลักออกมาเป็นอันมาก เมื่อโกยทรายออกมาจนหมดจึงพบไหโบราณเคลือบสีดำภายในบรรจุพระท่ากระดานและพระ เครื่องต่างๆ และภายในที่พื้นกรุใต้ไหก็พบพระบูชาและพระเครื่องต่างๆ มากมาย พระท่ากระดานที่บรรจุอยู่ในไหพบจำนวนทั้งสิ้น 29 องค์

ในปีพ.ศ.2507 ได้มีการขุดพบพระท่ากระดานอีกที่วัดท่าเสา ในพระเจดีย์โบราณองค์หนึ่งได้พระท่ากระดานและพระท่ากระดานน้อยอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีการบันทึกจำนวนพระเอาไว้

    พระท่ากระดานที่พบภายหลังที่ตัวจังหวัดนี้เรียกกันว่า “พระกรุใหม่” สันนิษ ฐานว่าในสมัยก่อนมีคนนำพระท่ากระดานที่ขุดพบจากศรีสวัสดิ์ นำมาถวายไว้ตามวัดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว และนำบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ จึงได้มาพบพระท่ากระดานอีกภายหลังตามวัดทั้งสามนี้ พระท่ากระดานที่พบในตัวจังหวัดเป็นพระท่ากระดานพิมพ์เดียวกันกับพบที่ศรี สวัสดิ์ทุกประการ เนื้อหาก็เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกัน

พระท่ากระดานเป็นพระศิลปะอู่ทอง อายุการสร้างก็ราวๆ 600-700 ปี

เนื้อหาและสนิมเป็นสนิมแดงงดงามมาก บางองค์มีการปิดทองมาแต่เดิม ส่วนที่กรุวัดเหนือก่อนบรรจุพระบางองค์มีการปิดทองเพิ่มก่อนการบรรจุก็มี พุทธคุณของพระท่ากระดานมีประสบการณ์มากมายจนเป็นที่กล่าวขวัญกันถึง เรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรี ว่าเป็นเลิศ นอกจากนั้น ก็ยังเป็นเรื่องของโชคลาภอุดมสมบูรณ์ตามแบบฉบับของพระอู่ทอง ปัจจุบันมีสนนราคาสูงมาก เนื่องด้วยจำนวนพระมีน้อยและหาพระแท้ๆ ยากมาก

#maharuoy #พระท่ากระดาน #พระเกศบิดตาแดง #พระกรุ

ขอขอบคุณภาพจาก

Facebook
Twitter
Pinterest
Reddit