ลูกประคำเครื่องรางที่มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย

ลูกประคำเครื่องรางที่มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย

ลูกประคำ หมายถึงลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนา หรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง และมีคำอธิบายเกี่ยวกับลูกประคำอยู่ในคำไทย

ลูกประคำ หมายถึงลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนา หรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง และมีคำอธิบายเกี่ยวกับลูกประคำอยู่ในคำไทย

ลูกประคำ ใช้ในการนับรอบการภาวนาแทนวิธีเดิมที่นับจำนวนคำด้วยนิ้วมือ สำหรับวัตถุที่ใช้ทำเม็ดประคำนั้นสุดแต่ฐานะของผู้ใช้ ซึ่งผู้ใดนับถือลัทธินิกายใด ก็จะทำขึ้นตามคตินิยมของตน

ทั้งจำนวนเม็ดลูกประคำก็มีมากน้อยไม่แน่นอนมีจุดประสงค์สำหรับให้นักบวชทางศาสนาใช้นับในการบริกรรมภาวนา เป็นเครื่องนำจิตใจให้เข้าสู่ภาวนาสมาธิ  เพื่อฝึกจิตให้มั่นคง ขับไล่การก่อกวนแห่งกิเลสทั้งปวง

ลูกประคำมีกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนิกายมหายาน

“สายประคำ” มีต้นกำเนิดมาจาก ‘พระปัทมสัมภวะ’ ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธในเนปาล ภูฐาน และทิเบต  ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นอาจารย์ผู้ประเสริฐ ผู้นำพระพุทธศาสนาวัชรยานเข้าสู่ทิเบตในศตวรรษที่ 8

เมื่อครั้งที่ท่านไปบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะบำเพ็ญสมาธิใต้ต้นโพธิจิต ท่านเริ่มคิดที่จะสร้างเครื่องมือนำทางให้คนที่เลื่อมใสพุทธศาสนาได้พบความสงบแห่งจิตใจ มีปัญญาและความรู้แจ้ง

ลูกประคำ หมายถึงลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนา หรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง และมีคำอธิบายเกี่ยวกับลูกประคำอยู่ในคำไทย

ท่านจึงได้ประดิษฐ์ “สายประคำ” แก่ผู้สนใจการปฏิบัติภาวนา โดยนำเมล็ดของ ‘ต้นโพธิจิต’ ต้นไม้ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกที่เนปาล ลักษณะเป็นเม็ดกลมสวยงามมาร้อยเป็นสายแล้วผูกปลายเป็นวง ให้ชาวพุทธใช้เป็นหลักยึดในขณะสวดมนต์ ศรัทธาแห่ง สายประคำหรือลูกประคำ จึงเป็นเสมือนแหล่งรวมสมาธิ ที่ตั้งของจิตภาวนา

ตามปกติชาวพุทธนิกายมหายาน จะนับลูกประคำไปด้วยในขณะสวดมนต์ ไม่ว่าจะเปล่งเสียงสวดมนต์ออกมา หรือสวดในใจ การนับจำนวนรอบที่ได้สวดไปแล้ว ช่วยให้จิตจดจ่อและมั่นคงอยู่กับบทสวดมนต์ โดยจำนวนลูกประคำนั้นส่วนใหญ่จะมีจำนวน 108 เม็ด ตามความเชื่อของทั้งพุทธและพราหมณ์

ในประเทศไทยเชื่อว่าลูกประคำมีพุทธานุภาพในการป้องกันภัย

สำหรับในประเทศไทยเราลูกประคำ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์บางรูปทางภาคเหนือก็นิยมใช้ประคำในการเจริญภาวนา เช่น ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา, ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นต้น

แต่ตามความหมายและความเชื่อของนักนิยมสะสมเครื่องรางของขลังนั้น จะให้ความหมายนอกเหนือไปจากคำจำกัดความดังกล่าว โดยนิยามความหมายและความเชื่อว่าลูกประคำ เป็นเครื่องราง

ของขลังอีกชนิดหนึ่งที่นิยมพกพาหรือคล้องคอ  เพื่อขอพุทธานุภาพในการคุ้มครองป้องกันภัย และป้องกันการกระทำคุณไสยต่างๆ เป็นต้น   

ลูกประคำ หมายถึงลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนา หรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง และมีคำอธิบายเกี่ยวกับลูกประคำอยู่ในคำไทย

“ลูกประคำ” นั้น ตามตำรับโบราณจะต้องใช้ว่านมงคล108 มาบดผสมกับเครื่องยาจินดามณีครั้งหนึ่งก่อน จึงโยงยึดด้วยรักหรือปูน  แล้วเจาะรูตรงกลาง นำเอาแผ่นเงินหรือแผ่นทองมาลงอักขระม้วนเป็นตะกรุด เสียบเข้าไปเป็นแกนกลางสำหรับร้อยเชือก

ส่วนเชือกนั้นต้องใช้ไหมเจ็ดสีมาควั่นเป็นเชือกร้อยตรงปลายสุด ปั่นให้ฟูและถักเป็นพู่ให้สวยงาม หรือใช้ กะลามะพร้าวตาเดียว  งาช้าง  เขี้ยวเสือ  เขี้ยวหมูตัน  หรือ เขี้ยวจระเข้  นำมากลึงให้เป็นรูปกลมแล้วเจาะรูตรงกลางในปัจจุบัน

วัสดุที่ใช้ทำลูกประคำ ยังมี ไม้จันทน์ หยก หรือแม้แต่พลาสติก ซึ่งขึ้นอยู่กับจิตใจ เจตนา และความแน่วแน่ของผู้บูชา เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการเจริญสมาธิภาวนา ได้อานิสงค์ทาง เมตตา แคล้วคลาด และคุ้มครองป้องกันภัยทั้งสิ้น

ในทางพระเวทย์ ถือว่าลูกประคำ เป็นเครื่องกำหนดคาบการภาวนาในการฝึกจิตหรือร่ายพระเวทย์วิทยาคมทั้งหลาย ให้เกิดพลังอำนาจขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และในด้านวิชายุทธโบราณของจีนหรือกำลังภายใน “ลูกประคำเหล็ก” ของหลวงจีนวัดเส้าหลินเอามาเป็นเครื่องป้องกันตัวจากคมอาวุธได้

หรือสามารถเข้ารับชมวีดีโอเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หรือสามารถชมเครื่องรางของขลังอื่นๆได้ ที่นี่

#เครื่องรางที่มีอานุภาพ #ลูกประคำอยู่ในคำไทย #พุทธานุภาพในการป้องกันภัย #ชาวพุทธนิกายมหายาน

ขอขอบคุณภาพจาก

  • s.sitepackage.com
  • prakumkrong.com
  • utdid.com
  • cf.shopee.co.th
  • s.isanook.com
Facebook
Twitter
Pinterest
Reddit