สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการผสมผสานความเชื่อทางศาสนา ไสยศาสตร์ ผี วิญญาณ และอำนาจเหนือธรรมชาติที่นักวิชาการเคยอธิบายว่า เชื่อแบบพุทธและผีดำรงอยู่ด้วยกัน

ซึ่งพบเห็นได้ในการปฏิบัติทางพิธีกรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งคนท้องถิ่นในสังคมเกษตรกรรม และคนเมืองในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ การศึกษาการแสดงออกเกี่ยวกับการผสมผสานความเชื่อดังกล่าว มักจะ เป็นการอธิบายให้เห็นบทบาทหน้าที่ของความเชื่อที่ส่งเสริมและช่วยแก้ปัญหาชีวิตให้กับบุคคลและจรรโลงค้ำจุนกฎระเบียบทางสังคมให้ดำเนินต่อไปได้
ความเชื่อทางศาสนา และการบูชาเจ้าแม่ตะเคียน
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี และวิญญาณ ที่เป็นเพศหญิง มักจะชี้ให้เห็นมิติของการให้คุณและให้โทษ ซึ่งมีตั้งแต่การปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือ ไป จนถึงทำให้เกิดอันตรายและหายนะแก่มนุษย์ มิติของการให้คุณเห็นได้จากความเชื่อเรื่อง “แม่ซื้อ” ซึ่งพบได้ในวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย ความเชื่อนี้อธิบายให้เห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองเด็กทารกที่เกิดใหม่ มิให้เด็กเจ็บไข้ได้ป่วย

โดยเชื่อว่าเด็ก แต่ละคนจะมีแม่ซื้อประจ าวันเกิดของตัวเอง พ่อแม่จะน าเด็กแรกเกิดมาใส่กระด้งและบอก กล่าวให้แม่ซื้อไปเลี้ยง แม่นางตะเคียนแก้วทอง เป็นนางตะเคียนที่สวยมาก เป็นความเชื่อทางศาสนา ดลบันดาลให้คนมารักใคร่ได้ นางตะเคียนเป็นคนรักเดียวใจเดียว
ถ้าใครจะจีบสาว หรือจีบหนุ่มก็ขอเป็น ทีละคนไป อย่าจีบเยอะ เพราะนางตะเคียนเป็นคนรักเดียวใจเดียว หรือใครที่มีคู่รักอยู่แล้วก็ขอให้ด้านอื่นแทน อย่างเช่นบอกกล่าวในเรื่องการงานค้าขายให้ร่ำรวย ขอหวยขอเบอร์ ดลบันดาลให้มีโชคลาภ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จควรถวายน้ำแดง หรือของหอม หากไม่สะดวกที่จะเซ่นไหว้ เวลาทำบุญให้แบ่งบุญให้นางตะเคียนด้วย เขาจะได้มีแรงมีพลังช่วยการงานเราได้เต็มที่ มีคาถาปลุกเสก

ต้นตะเคียนในวัฒนธรรมไทยก็ถูกอธิบายด้วยความเชื่อเรื่องสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์และรุกขเทวดา โดยการปรับเปลี่ยนให้เป็นวิญญาณของผู้หญิงที่สิงในต้นตะเคียน เห็นได้จากคำอธิบายในหนังสือต านานผีไทยของ สมบัติ พลายน้อย ซึ่งกล่าวถึง “ผีนางตะเคียน” และการมีอยู่ของต้นตะเคียนในป่าช้า รวมทั้งค าบอกเล่าที่เชื่อกันว่าศพที่ ฝังใต้ร่มเงาต้นตะเคียนจะเป็นศพผีตายโหง และผีนางตะเคียนจะคอยควบคุมดูแล ท าให้ ต้นตะเคียนเป็นสัญลักษณ์ของความตาย
#maharuoy #แม่นางตะเคียนแก้วทอง #ไสยศาสตร์ #การบูชา
ขอขอบคุณภาพจาก
- www.pinterest.com